วันอังคารที่ 19 มกราคม พ.ศ. 2553

คลังเดินหน้า 9 มาตรการขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทยปี 53

จัดทำบทความโดย

น.ส.อรพรรณ จันทร์หอม เลขทะเบียน 5001208052



เรื่อง คลังเดินหน้า 9 มาตรการขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทยปี 53



กรุงเทพฯ 18 ม.ค. - นายกรณ์ จาติกวณิช รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง

พร้อมด้วยรัฐมนตรีช่วยและผู้บริหารกระทรวงการคลัง ร่วมกันแถลงผลดำเนินงานปี 2553


นายกรณ์ กล่าวว่า มาตรการของกระทรวงการคลังเพื่อขับเคลื่อนเศรษฐกิจให้เติบโตอย่างต่อเนื่อง ประกอบด้วย

1.นโยบายแก้ปัญหาหนี้นอกระบบ หลังจากเปิดให้ประชาชนลงทะเบียนแก้ปัญหาหนี้นอกระบบจำนวน 965,377 คน มูลหนี้ 102,000 ล้านบาท ซึ่งในวันที่ 22 มกราคมนี้ จะเดินทางไปดูมาตรการแก้ไขปัญหาหนี้ให้กับประชาชนครั้งแรก และรัฐบาลจะสานต่อดูแลภาระหนี้ให้กับรายย่อย ด้วยการใช้ระบบไมโครไฟแนนซ์ดูแลประชาชน

2. การเดินหน้าตามแผนพัฒนาตลาดเงินระยะ 2 ด้วยการเพิ่มระดับการแข่งขันของสถาบันการเงินให้มีรายใหม่เข้ามาในระบบ การเพิ่มนวัตกรรมและผลิตภัณฑ์ทางการเงิน รวมถึงการผลักดันให้มีต้นทุนบริการประชาชนต่ำลง

3.แผนพัฒนาตลาดทุน โดยกระทรวงการคลังพร้อมผลักดันและแก้ไขกฎหมายต่าง ๆ เกี่ยวกับตลาดทุน การเชื่อมโยงกับตลาดโลก และรองรับความผันผวนต่าง ๆ เพื่อให้บรรยากาศการลงทุนดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง

4.การตั้งกองทุนการออมแห่งชาติ เพื่อให้รัฐบาลส่งเงินสมทบร่วมกับสมาชิก 100 บาทต่อเดือน ซึ่งมีแรงงานนอกระบบ พ่อค้าแม่ค้า หาบเร่แผงลอย คนขับแท็กซี่ เกษตรกร กว่า 20 ล้านคน ต้องการหลักประกันเหมือนกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ(กบข.) หรือกองทุนประกันสังคมของบริษัท เพื่อให้มีหลักประกันชีวิตหลังเกษียณอายุทำงาน โดยขณะนี้คณะกรรมการกฤษฎีกากำลังตรวจร่างกฎหมาย

5.การเพิ่มบทบาทให้ภาคเอกชนเข้ามาร่วมลงทุนโครงการของรัฐ เนื่องจากงบประมาณรายจ่ายประจำปี 2553 มีงบลงทุนเพียงร้อยละ 12.5 ของวงเงินรายจ่าย นับว่าเป็นกำลังในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจได้น้อย จึงต้องใช้เงินลงทุนจาก พ.ร.ก.การให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อฟื้นฟูและเสริมสร้างความมั่นคงทางเสรษฐกิจ ซึ่งเป็นเงินนอกงบประมาณมาร่วมกับภาคเอกชนลงทุนในโครงการขนาดใหญ่ของรัฐให้มีเงินลงทุนในระบบประมาณร้อยละ 25 เพื่อมีกำลังในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจให้เติบโตมากขึ้น

6.มาตรการสินเชื่อรายย่อย ด้วยการให้ธนาคารออมสินและ ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร(ธ.ก.ส.) ดูแลสินเชื่อรายย่อยให้มากขึ้น ในส่วนของ ธ.ก.ส.จะมีการตั้งธนาคารชุมชนเป็นหน่วยงานอิสระแยกจาก ธ.ก.ส.ในอนาคต เพื่อให้สามารถปล่อยสินเชื่อและดูแลรายย่อยได้มากขึ้น

7.การดูแลบัตรเครดิต ด้วยการผลักดัน พ.ร.บ.บัตรเครดิตและสินเชื่อบุคคล

8.การทวงถามหนี้อย่างเป็นธรรม ซึ่งเตรียมเสนอที่ประชุมคณะรัฐมนตรีพิจารณาเร็ว ๆ นี้ เพราะเป็นสิ่งเดียวที่ต้องเร่งแก้ไขให้กับประชาชนลืมตาอ้าปากได้ และ

9.การเดินหน้าผลักดัน พ.ร.บ.ที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง โดยเตรียมเสนอคณะรัฐมนตรีภายใน 1 เดือน เพื่อลดความเหลื่อมล้ำสร้างความยุติธรรมในการจัดเก็บภาษี

"ยืนยันว่าจะสามารถผลักดันกฎหมายต่าง ๆ โดยเฉพาะ พ.ร.บ.ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง และทำงานในตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังต่อไปได้ แม้ที่ผ่านมารัฐมนตรีที่เสนอกฎหมายดังกล่าวอาจหลุดจากตำแหน่ง เนื่องจากมีการคัดค้านจากหลายฝ่าย ซึ่งปัจจุบันการจัดเก็บภาษีในสัดส่วนร้อยละ 90 มาจากรายได้ของประชาชนและภาคเอกชน ส่วนภาษีเพียงร้อยละ 10 มาจากทรัพย์สิน งควรเพิ่มสัดส่วนภาษีจากทรัพย์สินมากขึ้น" นายกรณ์ กล่าว.-สำนักข่าวไทยอัพเดตเมื่อ 2010-01-18 11:22:03


ที่มา:http://news.impaqmsn.com/articles.aspx?id=301362&ch=ec1

คำถาม

1. มาตรการของกระทรวงการคลังมีกี่มาตรการ

2. ปัญหาหนี้นอกระบบจำนวน 965,377 คน มีมูลค่าหนี้เท่าไร

3. งบประมาณรายจ่ายประจำปี 2553 มีงบลงทุนร้อยละเท่าไร


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น